มาเรียนภาษาเกาหลีกันเถอะ

ในเกาหลีใต้ ประชาชนส่วนใหญ่เรียกภาษาของตนว่า ฮันกุกมัล (한국말) หรือ ฮันกุกอ (한국어) หรือ กุกอ (국어) บางครั้งอาจเรียกในแบบภาษาชาวบ้านว่า อูรีมัล (แปลว่า "ภาษาของเรา"; มาจากคำว่า 우리말 (เขียนติดกันในเกาหลีใต้),หรือ 우리 말 (เขียนแยกกันในเกาหลีเหนือ) สำเนียงท้องถิ่น

ศาสนาและความเชื่อ

ศาสนาพุทธ ศาสนาพุทธได้เข้ามาสู่เกาหลีอย่างเป็นทางการเมื่อ 1,600 ปีมาแล้วในปี 372 เมื่อปี 375 ก็ได้มีการสร้างวัดแห่งแรกขึ้นในป้อมกุงแนซอง (Gungnaeseong Fortress) เมืองหลวงของอาณาจักรโคคูเรียว (Goguryeo Kingdom) ตั้งแต่นั้นมาวัดพุทธของเกาหลีก็ได้เป็นปูชนียสถานที่ซึ่งพระสงฆ์จะได้ใช้ชีวิต วิปัสสนา และขัดเกลาจิดใจให้ผุดผ่องจากกิเลสตัณหาความอยากต่างๆในโลก

ลัทธิขงจื๊อ ยุคสมัยโชซอน ( 1392-1910 ) ได้ถือลัทธิขงจื๊อเป็นมโนคติในการปกครองประชาชน ไม่นานหลังการก่อตั้งราชวงศ์รัฐได้ก่อตั้งซึงเคียนควาน (Sung Kyun Kwan) หรือสถาบันขงจื๊อแห่งชาติและสถาบันในบริวาร ฮยางเกียว (hyanggyo) ซึ่งเป็นโรงเรียนในสังกัดอารามขงจื๊อ
การให้การศึกษาตามแบบขงจื๊อเกี่ยวกับจริยธรรมในครอบครัวและสังคมและมุ่งหวังให้มีการเคารพต่อบรรพบุรุษ ลัทธิขงจื๊อเบ่งบานมากขึ้นในช่วงกลางของสมัยโชซอนเมื่อโรงเรียนเอกชนเรียกว่าโซวอน (seowon) ได้จัดตั้งขึ้นทั่วประเทศเพื่อสอนจริยธรรมแบบขงจื๊อสำหรับชนรุ่นหลัง โรงเรียนแห่งแรกคือแบกุนดองโซวอน (Baegundong Seowon) ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นในปี 1542 ยุคโชซอนอาจถูกบรรยายได้ว่าเป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของลัทธิขงจื๊อปรัชญาซึ่งได้แผ่ซ่านซึมเข้าไปในสามัญสำนึกของชาวเกาหลี ในบรรดารูปแบบต่างๆของมรดกในลัทธิขงจื๊อที่สามารถพบได้ในวันนี้คือพิธีการต่างๆเช่นชองเมียว เจเร (Jongmyo Jerye) พิธีบูชาบรรพบุรุษแห่งชาติกระทำที่อารามหลวงชองเมียว (ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลกโดยองค์การยูเนสโกในปี 1995) และซอกจอน แทเจ (Seokjeon Daeje) พิธีตามแบบขงจื๊อที่สถาบันขงจื๊อซึงเคียนควาน และชาวเกาหลีคิดเป็นเปอร์เซนต์จำนวนมากยังได้ไปเคารพบรรพบุรุษที่ล่วงลับในสุสานทุกปีที่ชูซก เทศกาลการเก็บเกี่ยวเพื่อสักการะบูชาบรรพบุรุษด้วยการเซ่นไหว้ด้วยอาหารและเครื่องดื่ม

ประชากรและเชื้อชาติ

เชื้อชาติ : ประเทศเกาหลีแทบจะไม่มีชนชาติอื่นนอกจากคนเกาหลีเอง แต่ก็มีชาวจีนประมาณ 3 หมื่นคน ซึ่งอยู่ตามเขตเมืองหลวงมาช้านานแล้ว และยังมีชาวฟิลิปปินส์ อีก 72,000 คน ศาสนา : ชาวเกาหลีใต้ไม่มีศาสนาประมาณ 46% ศาสนาคริสต์ 26% ศาสนาพุทธ 26% ลัทธิขงจื๊อ 1% ศาสนาชอนโดเกียว ศาสนาอิสลาม และอื่นๆ 1 %

วัฒนธรรมของเกาหลีใต้

วัฒนธรรมของชาวเกาหลี ประเทศเกาหลีเป็นคาบสมุทรที่ทอดตัวลงใต้จากศูนย์กลางชายฝั่งด้านตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปเอเชีย คาบสมุทรเกาหลีประกอบด้วยพื้นที่ประมาณ 220,000 ตารางกิโลเมตรกับเกาะใหญ่น้อยประมาณ 3,400 เกาะเรียงรายตลอดชายฝั่ง ณ เวลานี้ประเทศเกาหลีเป็นประเทศเดียวในโลกที่ยังคงถูกแบ่งแยกตามภูมิศาสตร์และลัทธิการปกครอง มีประชากรทั้งหมดประมาณเจ็ดสิบล้านคนทั้งในประเทศเกาหลีเหนือและใต้ และไม่นานมานี้เองที่มีความก้าวหน้าที่เด่นชัดหลายประการในการร่วมมือและรวมประเทศเข้าด้วยกันคำว่า "เกาหลี" นี้ใช้อ้างอิงทั้งประเทศเกาหลีเหนือและใต้ ประเทศเกาหลีใต้ ณ ที่นี้ หมายถึงสาธารณรัฐเกาหลีซึ่งมีประชากร 48 ล้านคนในจำนวนนี้ 10 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโซลซึ่งเป็นเมืองหลวง กรุงโซลนั้นประการศักดาว่าเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน 600 ปี และในปี 1988 ก็มีชื่อเสียงไปทั่วโลกว่าเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 24 ประเทศเกาหลีเป็นเป้าแห่งความสนใจจากทั่วโลกอีกครั้งเมื่อได้เป็นเจ้าภาพร่วมกับประเทศญี่ปุ่นในการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายในปี 2002 ประเทศเกาหลีมีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่สวยงาม จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาชาวเกาหลีเองได้เรียกผืนแผ่นดินแห่งนี้ว่า คึมซูกังซาน (geumsugangsan) หรือ "ผืนพรมทองแห่งแม่น้ำและภูเขา" ความน่าพิศวงของผืนแผ่นดินนี้ถ่ายทอดผ่านแต่ละช่วงฤดูกาลด้วยทัศนียภาพที่แตกต่างกันไป

เป็นเวลาไม่นานมานี้เองที่เศรษฐกิจของเกาหลีได้ถูกปฏิรูปไปเป็นอย่างมาก ตั้งแต่ปี 1960 เกาหลีได้เปลี่ยนจากเศรษฐกิจแบบเกษตรกรรมเป็นแบบอุตสาหกรรมที่รุดหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการปฏิวัติแปรเปลี่ยนไป การส่งเสริมอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การต่อเรือ การคมนาคม และยานยนต์ซึ่งเป็นแบบอย่างของการพัฒนาประเทศไปทั่วโลก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการคมนาคมและสารสนเทศนั้นเกาหลีในวันนี้ยืนอยู่แถวหน้าของโลก

ชาวเกาหลีได้สร้างวัฒนธรรมที่โดดเด่นผ่านช่วงประวัติศาสตร์อันยาวนานและมรดกทางวัฒนธรรมอันเด่นเฉพาะตัวก็สามารถพบได้ตลอดคาบสมุทร ชาวเกาหลีให้คุณค่ากับการเรียนรู้และมีชื่อเสียงมากในการอุทิศตนและความมุมานะอุตสาหะ บางทีอาจเป็นเพราะลักษณะเหล่านี้ก็ได้ที่ทำให้พวกเขาสามารถใช้แรงกระตุ้นทางวัฒนธรรมซึ่งนำมาประยุกต์อย่างถี่ถ้วนกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ

ศิลปะของเกาหลีใต้



ชนชาติเกาหลีได้ถ่ายทอดความเป็นอัจฉริยะทางศิลปะผ่านทางดนตรี นาฎศิลป์ และจิตรกรรม ซึ่งได้มีการพัฒนามาตลอดระยะเวลา 5,000 ปีของประวัติศาสตร์เกาหลี แม้ว่าศิลปะตะวันตกในรูปแบบต่าง ๆ จะแพร่หลายอยู่ในประเทศ แต่ศิลปะเกาหลีอันมีเอกลักษณ์ เฉพาะตัวยังได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะในลักษณะดั้งเดิม หรือผสมผสานกับศิลปะร่วมสมัย












ชุดประจำชาติของเกาหลีใต้

ชุดฮันบก ชาวเกาหลีมีชุดประจำชาติตั้งแต่สมัยโบราณ เรียกว่า ฮันบก (ฮันหมายถึงชาวเกาหลี บกหมายถึงชุด รวมกันหมายถึงชุดของชาวเกาหลี) ฮันบกทั้งของผู้หญิงและผู้ชายมีลักษณะหลวมๆเพื่อความสะดวกสบายและคล่องแคล่วไม่ใช้กระดุมหรือขอแต่จะใช้ผ้าผูก ไว้แทน ชุดของผู้ชาย ข้างล่างประกอบด้วย "ปันซือ" แต่สมัยใหม่เรียกว่า "แพนที" ซึ่งหมายถึงกางเกงใน ชั้นนอกสวม "บาจี" เป็นกางเกงขายาวหลวมๆรวบปลายขาไว้ด้วย "แทมิน" เป็นแถบผ้าใช้มัดขากางเกง"บันโซเม" เป็นเสื้อรัดรูปแขนสั้นไว้ข้างใน เสื้อนอกเรียกว่า "จอโกลี" เป็นเสื้อแขนยาวไม่มีปกไม่มีกระเป๋า ชุดของผู้หญิง ประกอบด้วย "แพนที" หรือกระโปงที่อยู่ข้างใน ข้างบนใช้ "ซ็อกชีมา" เป็นแถบผ้าขนาดใหญ่ ใช้มัดทรวงอกไว้แทนเสื้อยกทรง ข้างนอกสวม "ชีมา" เป็นกระโปรงยาวกรอมเท้า สวมเสื้อ "จอโกรี" เป็นเสื้อนอกแขนยาว ฮันบกเป็นภาพรวมศิลปะของเกาหลีที่สามารถพบเห็นได้ตามท้องถนนของเกาหลี ราวกับถนน สายแฟชั่นของปารีส ฮันบกชุดแต่งกายประจำชาติของเกาหลีทำจากผ้าสีสัน สดใส เนื้อผ้าจะขึ้นอยู่กับโอกาสและวัยของผู้ใส่ เด็กหญิงหรือหญิงสาวจะสวมกระโปรง สีแดงเสื้อสีเหลืองจะเปลี่ยนเป็นกระโปรงสีแดง เสื้อสีเขียวเมื่อแต่งงานแล้วส่วน หญิงสูงอายุอาจเลือกสีสันต่างๆที่สดใส และเลือกใช้เนื้อผ้าได้หลากหลาย ปัจจุบันชุดแต่งกายวัฒนธรรมเดิมจะใช้เฉพาะโอกาสพิเศษเท่านั้น

ดนตรีประจำชาติของเกาหลีใต้

ชนชาติเกาหลีมีดนตรีที่เรียกว่า คุกอัก มีที่มาคล้ายคลึงกับดนตรีจีนและญี่ปุ่น แต่ถ้าเราสามารถสัมผัสดนตรีชนิดนี้ได้อย่างลึกซึ้ง จะพบว่า ดนตรีเกาหลีมีลักษณะแตกต่างอย่างชัดเจนจากดนตรีชนิดอื่น ๆ ในแถบเอเชียตะวันออก กล่าวคือ ดนตรีเกาหลีประกอบด้วยสามจังหวะในหนึ่งห้อง ในขณะที่ดนตรีจีนและญี่ปุ่นมีสองจังหวะในหนึ่งห้อง คุกอัก แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ ชองอัก หรือดนตรีในราชสำนัก และมินซกอัน หรือดนตรีพื้นบ้าน ชองอัก ซึ่งเป็นดนตรีชั้นสูง มีท่วงทำนองเชื่องช้า เยือกเย็น และซับซ้อน ส่วนมินซกอัก ได้แก่ ดนตรีของชาวนาชาวไร่ พันซอรี (ดนตรีที่เน้นการแสดงความรู้สึก) และดนตรีพิธีไสยศาสตร์ มีจังหวะที่รวดเร็วและกระฉับกระเฉง



เพลงชาติของเกาหลีใต้

เพลงชาติเกาหลีมีชื่อว่า “เอกึกกวา” หมายถึง บทเพลงแห่งความรักต่อประเทศ ชาวเกาหลีจะร้องเพลงชาติทุกโอกาสที่เป็นทางการ ไม่ว่าจะเป็นโอกาสแห่งความสุขหรือความทุกข์ เดิมเพลงชาติเกาหลีใช้ทำนองเพลง “AULD LANG SYNE” (สามัคคีชุมนุม) ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นทำนองแบบเกาหลีแต่ยังคงเนื้อร้องเดิมไว้

นาฏศิลป์

ศิลปะการร่ายรำแบบเกาหลีแบ่งออกเป็น 2 ประเภทเช่นเดียวกับดนตรี คือ แบบราชสำนักและแบบพื้นบ้าน ในแบบฉบับของราช สำนักนั้น ท่าทางของการรำจะช้าและสง่างาม ซึ่งสะท้อนปรัชญาของการเดินสายกลางและการระงับอารมณ์ความรู้สึก เป็นอิทธิพลมาจากปรัชญาขงจื้อ ในทางตรงกันข้าม ระบำพื้นบ้านซึ่งสะท้อนชีวิตการทำงานและศาสนาของสามัญชนจะใช้จังหวะและทำนองที่สนุกสนาน เป็นลักษณะของการแสดงออกที่เป็นอิสระและมีชีวิตชีวาของคนเกาหลี เช่น ระบำของชาวนาชาวไร่ ระบำหน้ากาก และการร่ายรำทางไสยศาสตร์ การได้รู้จักและเห็นคุณค่าของนาฏศิลป์เกาหลีจะช่วยให้นักท่องเที่ยวเข้าใจวัฒนธรรมของคนเกาหลีใต้มากยิ่งขึ้น




จิตรกรรมแบบดั้งเดิม

ภาพจิตรกรรม จิตรกรรมแบบเกาหลีแตกต่างจากรูปแบบของตะวันตกอย่างสิ้นเชิงด้วยลักษณะลายเส้นและการให้สีซึ่งเป็นแบบฉบับเฉพาะตัวของศิลปะตะวันออก การค้นพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับจิตรกรรมโบราณในสุสานหลวงจากยุคสามอาณาจักร (57 ปีก่อนคริสตศักราช – ค.ศ. 668) ช่วยให้เราสามารถเข้าใจวิถีชีวิตของคนในสมัยนั้น ต่อมาในสมัยราชวงศ์โคเรียว (ค.ศ.918-1392) ศาสนาพุทธมีความเจริญรุ่งเรืองถึงจุดสูงสุด มีงานจิตรกรรมแบบพุทธ และศิลปวัตถุอื่น ๆ เกิดขึ้นมากมายในวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ ส่วนในสมัยราชวงศ์โชซอน (ค.ศ.1392-1910) ลัทธิขงจื้อได้กลายเป็นหลักปรัชญาในการบริหารประเทศ บรรดาปัญญาชนในสมัยนั้นจึงผลิตงานศิลปะที่แสดงถึงอิทธิพลของลัทธิขงจื้อและศิลปะแบบจีน ในขณะเดียวกัน จิตรกรรมพื้นบ้านซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่สามัญชนกลับไม่ได้รับอิทธิพลจากแนวความคิดใดความคิดหนึ่ง จึงมีการใช้เทคนิคการเขียนภาพที่เป็นอิสระ แสดงออกถึงอารมณ์และความรู้สึก รวมทั้งใช้สีสันสดใส เพื่อสื่อถึงพลัง อารมณ์ และความรื่นเริง สำหรับโรงเรียนสอนด้านจิตรกรรมทั้งของแบบเกาหลีและตะวันตกที่เปิดอยู่ในเกาหลีปัจจุบันก็มีผลงานบางชิ้นที่ผสมผสานกัน

เครื่องปั้นดินเผาของเกาหลีใต้

เครื่องปั้นดินเผา ประเทศเกาหลีได้รับเอาศิลปะการทำเครื่องปั้นดินเผามาจากประเทศจีนเมื่อกว่า 1,000 ปีมาแล้ว ศิลปะแขนงนี้ได้เจริญรุ่งเรืองและกลายเป็นประเพณีอย่างหนึ่งซึ่งชาวเกาหลีมีความภาคภูมิใจเครื่องปั้นดินเผาแบบศิลาดลสีเขียวอมฟ้า ที่มีความสวยงามแบบลึกซึ้งจากราชวงศ์โคเรียว (ค.ศ.918-1392) ก็เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางไปทั่วโลกและเป็นที่ต้องการของผู้ที่นิยมวัตถุโบราณ เช่นเดียวกับเครื่องกระเบื้องสีขาวจากราชวงศ์โชซอน (ค.ศ.1392-1910) ศิลปะแขนงนี้ได้เข้าไปมีอิทธิพลต่อศิลปะญี่ปุ่นในยุคสมัยต่าง ๆ โดยเฉพาะในช่วงที่ญี่ปุ่นที่รุกรานประเทศเกาหลีในช่วงปี ทศวรรษ 1950 และทำให้ศิลปะแขนงนี้เจริญรุ่งเรืองในญี่ปุ่นจนถึงทุกวันนี้





ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวเกาหลีใต้

การเคารพผู้มีอาวุโส
โครงสร้างทางสังคมแบบขงจื้อที่มีมานานยังคงอยู่อย่างเหนียวแน่น ถึงแม้ว่าเราจะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านนี้บ้าง วัยวุฒิและอาวุโสยังมีความหมายมากและผู้เยาว์จะต้องเคารพคำสั่งของผู้อาวุโสโดยปราศจากข้อโต้แย้ง ดังนั้นบ่อยครั้งเราจะถูกถามว่าอายุเท่าใด และถามถึงสถานภาพทางการสมรส (เป็นที่น่าแปลกอยู่ทีเดียวที่ไม่ว่าเราจะอายุมากเพียงใด เราจะไม่ถือเป็นผู้ใหญ่หากเรายังไม่สมรส อย่างน้อยก็เป็นสิ่งที่ยึดถือกันในแต่ละครอบครัว) เพื่อจะคะเนถูกถึงความอาวุโสของเราต่อผู้อื่น อย่างไรก็ตามการที่ถูกถามก็มิได้หมายความว่าผู้ถามต้องการล่วงล้ำเข้ามาในโลกส่วนตัวของเรา แต่เราก็ไม่จำเป็นต้องตอบคำถามนั้นหากเราไม่ต้องการ

ชื่อคนเกาหลี
ชาวเกาหลีส่วนใหญ่จะมีชื่อสกุลจำกัดอยู่ในไม่กี่กลุ่มชื่อ เช่น 21% จะมีชื่อสกุลว่า คิม 14% จะมีชื่อสกุลว่า ยี, ลี หรือ รี 8% มีชื่อสกุลว่า ปาร์ค นอกจากนั้นก็มีชื่อสกุลแตกออกไปอีกเช่น ชอย (หรือ แช) เจิง (หรือ ชุง) จาง (หรือ ชาง) ฮัน , ลิม เป็นต้น ชื่อเต็มของชาวเกาหลีก็จะประกอบด้วย ชื่อสกุล 1 พยางค์และชื่อหน้า 2 พยางค์ ชื่อสกุลจะเขียนก่อน สตรีชาวเกาหลีจะไม่เปลี่ยนชื่อสกุลตามคู่สมรส แต่บุตรและธิดาจะใช้ชื่อสกุลของบิดา

การสมรส
ชาวเกาหลีถือว่าการสมรสนั้นเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในชีวิต และการหย่าร้างถือว่าเป็นความตกต่ำเสียชื่อเสียงไม่เพียงแต่สำหรับคู่สมรสเท่านั้น แต่รวมไปถึงครอบครัวเลยทีเดียว แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม อัตราหย่าร้างในปัจจุบันก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นเร็วพอควร การประกอบพิธีสมรสในปัจจุบันแตกต่างไปจากในสมัยโบราณ นั่นคือในปัจจุบันนี้พิธีจะเริ่มด้วยแบบทางตะวันตก นั่นคือมีการสวมชุดวิวาห์สีขาวสำหรับเจ้าสาวและทัคซีโดสำหรับเจ้าบ่าว โดยประกอบพิธีในห้องจัดพิธีวิวาห์ หรือในโบสถ์ ต่อมาช่วงบ่ายจะมีพิธีแบบ ดั้งเดิมในสถานที่ใหม่ด้วยชุดวิวาห์ที่มีสีสันงดงาม

เจเย (พิธีเคารพบูชาบรรพบุรุษ)
ตามหลักความเชื่อดั้งเดิมของเกาหลีนั้น เมื่อบุคคลหนึ่งสิ้นชีวิตลง วิญญาณของเขายังไม่ไปไหน แต่ยังวนเวียนอยู่ใกล้เป็นเวลากว่า 4 ชั่วคนทีเดียว ในช่วงเวลาอันยาวนานนี้ผู้ตายยังถูกถือว่าเป็นสมาชิกของครอบครัวความสัมพันธ์อันนี้ถูกถ่ายทอดออกมาด้วยพิธีเจเยซึ่งจัดขึ้นในวันพิเศษต่างๆ เช่น ซอลัล และชูซก รวมทั้งวันครบรอบวันเสียชีวิตของบรรพบุรุษเหล่านั้น ชาวเกาหลีเชื่อว่าการที่เขามีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขนั้นก็ด้วยพรอันประเสริฐซึ่งบรรพบุรุษให้ไว้นั่นเอง

ภาษากาย
เมื่อต้องการกวักมือเรียกผู้อื่นนั้น ควรคว่ำมือลงและกวักนิ้วเรียกโดยใช้นิ้วชิดกัน การกวักมือเรียกโดยหงายฝ่ามือขึ้นนั้นไม่สุภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากใช้นิ้วกวักเรียก เพราะถือเป็นกิริยาเรียกสุนัขสำหรับชาวเกาหลี


Free Web Hosting